Attraction วัดบวรนิเวศวิหาร Wat Bowon Niwet : กรุงเทพมหานคร
ประวัติความเป็นมาของวัด วัดบวรนิเวศวิหาร หรือ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โดยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ ได้ทรงมีพระดำริโปรดให้สร้างขึ้น แต่ยังไม่ทันแล้วเสร็จ ก็สิ้นพระชนม์เสียก่อน วัดบวรนิเวศวิหาร สร้างขึ้นด้วยศิลปะไทยผสมจีน ภายในพระอุโบสถ มีพระพุทธรูปสำคัญอยู่ 2 องค์ คือ พระประธาน อัญเชิญมาจากวัดสระตะพาน เพชรบุรี และ พระพุทธชินสีห์ อัญเชิญมาจากวิหารทิศเหนือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก ถัดจากพระอุโบสถออกไปเป็นเจดีย์กลมขนาดใหญ่ สร้างสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 หุ้มกระเบื้องสีทอง ในรัชกาลปัจจุบัน รอบฐานพระเจดีย์มี ศาลาจีนและซุ้มจีน ถัดออกไปเป็นวิหารเก๋งจีน นอกจากนี้ก็มีจิตรกรรมฝาผนังฝีมือขรัวอินโข่ง ใต้ฐานพุทธบัลลังก์ พระพุทธชินสีห์ พระประธานในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นที่บรรจุพระบรมราชสรีรางคาร พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเคยผนวช ณ วัดนี้เมื่อยังทรงดำรงพระราชอิสริยยศที่ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นที่ประทับของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ซึ่งทรงสำเร็จการศึกษาเปรียญ ๙ ประโยค แต่ในเวลาเดียวกัน พระองค์ก็ทรงเน้นหนักในด้านจิตภาวนา โดยได้ทรงฝึกสมาธิจิต ทั้งสมถะและวิปัสสนาตามแนวทางพระป่ามาเป็นระยะเวลานาน พระองค์ยังได้ทรงรับเลือกให้เป็นพระอภิบาล (พระพี่เลี้ยง) ของพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวระหว่างที่ทรงผนวชอยู่ด้วย วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นที่ตั้งของ มหามกุฏราชวิทยาลัย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2436 เป็นสถานศึกษาชั้นสูงของคณะสงฆ์ ต่อมาสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ได้ทรงประกาศตั้งสภาการศึกษา มหามกุฏราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพุทธศาสนา เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2488 ซึ่งนับเป็นสถาบันการศึกษาสงฆ์ระดับมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย หลังจากนั้น เมื่อปี พ.ศ. 2490 คณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกายก็ประกาศตั้งมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในวัดมหาธาตุ วัดบวรนิเวศวิหารในปัจจุบัน ยังเป็นที่พักของพระภิกษุนาคหลวงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหลายรูป และยังเป็นสถานที่พำนักระหว่างพระภิกษุ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครั้งทรงผนวช รวมทั้งเป็นที่ประทับของพระบรมวงศานุวงศ์ อาทิ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร ครั้งทรง ผนวชอีกด้วย พระพุทธชินสีห์ พระประธานในพระอุโบสถคือพระพุทธชินสีห์ซึ่งสันนิษฐานว่าสร้างสมัยพระยาลิไทแห่งกรุงสุโขทัย พร้อมๆ กับพระพุทธชินราชที่พิษณุโลกและพระศรีศาสดา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ระหว่างทรงครองวัด ได้โปรดให้อัญเชิญพระศรีศาสดาและพระพุทธชินสีห์มาประดิษฐสถานที่วัดบวรนิเวศวิหารจนบัดนี้ ระหว่างทรงผนวชและประทับที่วัดบวรนิเวศวิหาร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ประติมากรของกรมศิลปากรปั้นหุ่นและสร้างพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร โดยทรงเสด็จพระราชดำเนินหล่อพระพุทธรูป วันที่ 5 ธันวาคม 2499 สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ได้ถวายพระนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่าพระพุทธนาราวันตบพิตร ความสำคัญของวัดบวรนิเวศวิหาร ในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในประเทศไทย วัดบวรนิเวศวิหารถือเป็นวัดที่มีความเคลื่อนไหวทางศาสนาที่สำคัญๆ หลายอย่างถือกำเนิดขึ้น อาทิ ความพยายามในการปฏิรูปสงฆ์ไทย ซึ่งทำให้เกิดนิกายธรรมยุตขึ้นมา ความพยายามในการก่อตั้งวิทยาลัยสงฆ์แห่งแรก ได้แก่ มหามกุฏราชวิทยาลัย สมัยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ความพยายามในการริเริ่มตรวจชำระคัมภีร์ภาษาบาลี โดยความริเริ่มของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ความพยายามในการก่อตั้งโรงพิมพ์แห่งแรกที่คนไทยเป็นเจ้าของ จนวิวัฒนาการมาเป็น โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย ดังในปัจจุบัน ความพยายามในการรื้อฟื้น มหามกุฏราชวิทยาลัย โดยมีวัดบวรนิเวศวิหารสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง จนประเทศไทย มีมหาวิทยาลัยสงฆ์ไว้ผลิต ศาสนทายาทที่เหมาะสมแก่สมัย ความพยายามในการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐแห่งแรกของประเทศ วัดบวรนิเวศวิหาร มีตำหนักเพ็ชรซึ่งใช้เป็นสถานที่ประชุมกรรมการมหาเถรสมาคม ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การศึกษาปริยัติธรรมในวัดบวรนิเวศวิหาร วัดบวรนิเวศวิหารได้ส่งเสริมการศึกษาภาษาบาลี มาตั้งแต่เริ่มมีวัดนี้ โดยเฉพาะในยุคที่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงครองวัด กล่าวกันว่าทรงเน้นให้ศึกษาอย่างเข้มงวด จนกระทั่งว่าศิษยานุศิษย์ของพระองค์สามารถสนทนาภาษาบาลีได้เพราะ ทรงจัดให้มีการเรียนการสอนภาษาบาลีแก่พระภิกษุสามเณรภายในวัดอย่างแตกฉานเพื่อให้สามารถอ่านคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา ฯลฯ ได้จากต้นฉบับใบลาน หลังจากนั้น เป็นต้นมา วัดบวรนิเวศวิหารก็ได้เป็นสดมภ์หลักในการตรวจชำระคัมภีร์ใบลาน ภาษาบาลีแล้วจัดพิมพ์ออกมาในรูปพระไตรปิฎก คัมภีร์อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา ฯลฯ ออกมาเผยแผ่ไปทั่วประเทศ ซึ่งล้วนแต่เป็น ผลงานของศิษยานุศิษย์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทั้งนั้น วัดบวรนิเวศวิหาร มีกล่าวถึงพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ระหว่างทรงผนวช ใน ตำนานวัดบวรนิเวศวิหาร เล่ม 1 หน้า 22 ทรงทำนุบำรุงการเรียนพระปริยัติธรรมให้รุ่งเรือง ทรงบอกพระปริยัติธรรมเอง มีภิกษุสามเณรเป็นศิษย์เข้าแปลในสนามหลวง ได้เป็นเปรียญประโยคสูงถึงประโยค ๙ ก็มีหลายรูป พระสำนักอื่นมาขอเรียนบ้างก็มี ทรงเป็นหลักอยู่ในการไล่หนังสือพระองค์หนึ่ง ครั้งนั้น พระเปรียญพูดมคธได้คล่อง มีพระลังกาเข้ามาจึงต้องทรงมีหน้าที่เป็นผู้รับรองในราชการ มีคณะไว้สำหรับพระลังกาที่วัด วัดบวรนิเวศวิหารเคยมีชื่อเสียงโด่งดังด้านการศึกษาพระปริยัติธรรม มาก สามเณรสา ปุสสเทวะ ผู้สอบได้เปรียญ ๙ ประโยค ถึง 2 ครั้งก็เคยอยู่วัดนี้ ครั้งแรกเมื่อสอบได้เปรียญ ๙ ประโยค ยังเป็นสามเณรสา ที่วัดราชาธิวาสวิหาร ครั้งที่ 2 มาสอบได้เปรียญ ๙ ประโยคอีกครั้ง ที่วัดบวรนิเวศวิหารนี้เอง สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ผู้ทรงเป็นปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาและภาษาบาลีก็เคยทรงครองวัด บวรนิเวศวิหาร ระหว่างทรงครองวัดในฐานะเจ้าอาวาส พระองค์ก็ทรงจัดพิมพ์ตำรับตำราภาษาบาลีมากมาย ระยะหลัง มีประชาชน จำนวนมากมีศรัทธาเลื่อมใสเข้ามาบวชอยู่ในวัดบวรนิเวศวิหารระยะสั้นตลอดทั้งปี วัดบวรนิเวศวิหารรับภาระในการจัดอบรมหลักสูตร นวกะระยะสั้นเสียเป็นส่วนมาก เสนาสนะจึงค่อนข้างจำกัด ในที่สุด วัดบวรนิเวศวิหารจึงหันมาเน้นให้การศึกษาอบรมแก่ผู้บวช ระยะสั้น ทั้งในพรรษาและนอกพรรษา ปริมาณผู้สอบเปรียญบาลีสูงๆ ได้จึงลดลงมาก แต่ในยุคสมัยที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก รูปปัจจุบันทรงครองวัด พระองค์ได้ทรงแต่งตั้ง พระพรหมมุนี (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต ป.๙) เป็นผู้อำนวยการสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหารเพื่อดูแลการศึกษาพระ ปริยัติธรรม และก็มีพระภิกษุสามเณรสอบเปรียญธรรมได้ทุกๆ ปีไม่เคยขาด โดยมีวัดธรรมยุตอีกประมาณ ๙ วัดขึ้นกับสำนัก เรียนวัดบวรนิเวศวิหาร อาทิ วัดดวงแข, วัดเขมาภิรตาราม, วัดบวรมงคล, วัดตรีทศเทพ, วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม, วัดบุรณศิริมาตยาราม นอกจากนั้น ในยุคสมัยของพระองค์ ยังมีผู้สอบเปรียญ ๙ ประโยคได้ขณะยังเป็นสามเณรและได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ เป็น นาคหลวง อุปสมบทในพระบรมราชานุเคราะห์ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง 2 รูป คือ สามเณร ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์ และสามเณรฉัตรชัย มูลสาร โดยสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์และจัดงานมุทิตาเนื่องในวันประสูติของพระองค์แก่สามเณรทั้งสองรูป วัดบวรนิเวศวิหารกับงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา วัดบวรนิเวศวิหารได้เป็นที่มั่นที่สำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทั้งปริยัติและปฏิบัติ ในฝ่ายปฏิบัตินั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงสร้างวัด อีกวัดหนึ่งคู่กับวัดบวรนิเวศวิหารคือวัดบรมนิวาส ไว้เป็นสถานที่สำหรับฝึกวิปัสสนาจารย์โดยเฉพาะในกรณีที่ศิษยานุศิษย์ของพระองค์ประสงค์จะฝึก ต่อมา วัดบรมนิวาสแห่งนี้ยังกลายเป็นวัดที่พระวิปัสสนาจารย์รุ่นแรกๆ อาทิ หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ได้มาพำนักอาศัยและศึกษาเพิ่มเติมจนกลายเป็น พระวิปัสสนาจารย์สายวัดป่าที่มีชื่อเสียงไปทั่วประเทศ ด้วยเหตุนี้ พระป่าสายธรรมยุตจึงยกย่องพระจอมเกล้าฯ ว่าเป็นผู้วางรากฐานการปฏิบัติสาย พระป่าไว้อย่างมั่นคง เพราะทรงเน้นศิษยานุศิษย์ของพระองค์ที่อยู่วัดบวรนิเวศวิหารและอยู่ที่วัดบรมนิวาสให้มีศีลสิกขาอย่างเคร่งครัดก่อนจะลงมือ ปฏิบัติ หมายความว่ามีความรู้ปริยัติที่ถูกต้องก่อนลงมือปฏิบัตินั่นเอง ส่วนฝ่ายปริยัตินั้น วัดบวรนิเวศวิหารก็มีการอบรมทั้งพระนวกะและผู้ประสงค์จะ ศึกษาภาษาบาลีระยะยาวอยู่ทุกๆ ปี ปัจจุบันนี้ วัดบวรนิเวศวิหารยังขยายการเผยแผ่ไปยังต่างประเทศ โดยสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชทรงกระตุ้นให้เกิดการแปลคัมภีร์ ทางพระพุทธศาสนาเป็นภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้นมากมาย ทำให้หลักสูตรนักธรรมและธรรมศึกษามีเผยแพร่ไปยังต่างประเทศด้วย ตำรับตำราที่พระ องค์ทรงบุกเบิกให้แปลเป็นภาษาอังกฤษมีจำหน่ายที่ มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ นอกจากนั้น วัดบวรนิเวศวิหารยังเป็นที่ตั้งสำนักงานของ มูลนิธิแผ่นดินธรรม ซึ่งผลิตรายการธรรมะออกเผยแผ่ พุทธธรรม ทางโทรทัศน์ช่อง 5 ทุกวันอาทิตย์ เวลา 06.30-7.00 น. และทุกวันพฤหัสบดี ทางโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 5 เวลา 14.00-14.30 น. ทั้งยังเป็นสำนักงานที่ตั้งของ ศูนย์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย ซึ่งมีหน้าที่ส่งเสริมและพิทักษ์พระพุทธศาสนาอีกด้วย
วัดบวรนิเวศวิหาร Wat Bowon Niwet
ประวัติความเป็นมาของวัด
วัดบวรนิเวศวิหาร หรือ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โดยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ ได้ทรงมีพระดำริโปรดให้สร้างขึ้น แต่ยังไม่ทันแล้วเสร็จ ก็สิ้นพระชนม์เสียก่อน วัดบวรนิเวศวิหาร สร้างขึ้นด้วยศิลปะไทยผสมจีน ภายในพระอุโบสถ มีพระพุทธรูปสำคัญอยู่ 2 องค์ คือ พระประธาน อัญเชิญมาจากวัดสระตะพาน เพชรบุรี และ พระพุทธชินสีห์ อัญเชิญมาจากวิหารทิศเหนือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก ถัดจากพระอุโบสถออกไปเป็นเจดีย์กลมขนาดใหญ่ สร้างสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 หุ้มกระเบื้องสีทอง ในรัชกาลปัจจุบัน รอบฐานพระเจดีย์มี ศาลาจีนและซุ้มจีน ถัดออกไปเป็นวิหารเก๋งจีน นอกจากนี้ก็มีจิตรกรรมฝาผนังฝีมือขรัวอินโข่ง
ใต้ฐานพุทธบัลลังก์ พระพุทธชินสีห์ พระประธานในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นที่บรรจุพระบรมราชสรีรางคาร พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเคยผนวช ณ วัดนี้เมื่อยังทรงดำรงพระราชอิสริยยศที่ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร
วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นที่ประทับของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ซึ่งทรงสำเร็จการศึกษาเปรียญ ๙ ประโยค แต่ในเวลาเดียวกัน พระองค์ก็ทรงเน้นหนักในด้านจิตภาวนา โดยได้ทรงฝึกสมาธิจิต ทั้งสมถะและวิปัสสนาตามแนวทางพระป่ามาเป็นระยะเวลานาน พระองค์ยังได้ทรงรับเลือกให้เป็นพระอภิบาล (พระพี่เลี้ยง) ของพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวระหว่างที่ทรงผนวชอยู่ด้วย
วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นที่ตั้งของ มหามกุฏราชวิทยาลัย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2436 เป็นสถานศึกษาชั้นสูงของคณะสงฆ์ ต่อมาสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ได้ทรงประกาศตั้งสภาการศึกษา มหามกุฏราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพุทธศาสนา เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2488 ซึ่งนับเป็นสถาบันการศึกษาสงฆ์ระดับมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย หลังจากนั้น เมื่อปี พ.ศ. 2490 คณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกายก็ประกาศตั้งมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในวัดมหาธาตุ
วัดบวรนิเวศวิหารในปัจจุบัน ยังเป็นที่พักของพระภิกษุนาคหลวงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหลายรูป และยังเป็นสถานที่พำนักระหว่างพระภิกษุ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครั้งทรงผนวช รวมทั้งเป็นที่ประทับของพระบรมวงศานุวงศ์ อาทิ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร ครั้งทรง ผนวชอีกด้วย
พระพุทธชินสีห์
พระประธานในพระอุโบสถคือพระพุทธชินสีห์ซึ่งสันนิษฐานว่าสร้างสมัยพระยาลิไทแห่งกรุงสุโขทัย พร้อมๆ กับพระพุทธชินราชที่พิษณุโลกและพระศรีศาสดา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ระหว่างทรงครองวัด ได้โปรดให้อัญเชิญพระศรีศาสดาและพระพุทธชินสีห์มาประดิษฐสถานที่วัดบวรนิเวศวิหารจนบัดนี้
ระหว่างทรงผนวชและประทับที่วัดบวรนิเวศวิหาร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ประติมากรของกรมศิลปากรปั้นหุ่นและสร้างพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร โดยทรงเสด็จพระราชดำเนินหล่อพระพุทธรูป วันที่ 5 ธันวาคม 2499 สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ได้ถวายพระนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่าพระพุทธนาราวันตบพิตร
ความสำคัญของวัดบวรนิเวศวิหาร
ในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในประเทศไทย วัดบวรนิเวศวิหารถือเป็นวัดที่มีความเคลื่อนไหวทางศาสนาที่สำคัญๆ หลายอย่างถือกำเนิดขึ้น อาทิ
ความพยายามในการปฏิรูปสงฆ์ไทย ซึ่งทำให้เกิดนิกายธรรมยุตขึ้นมา
ความพยายามในการก่อตั้งวิทยาลัยสงฆ์แห่งแรก ได้แก่ มหามกุฏราชวิทยาลัย สมัยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
ความพยายามในการริเริ่มตรวจชำระคัมภีร์ภาษาบาลี โดยความริเริ่มของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ความพยายามในการก่อตั้งโรงพิมพ์แห่งแรกที่คนไทยเป็นเจ้าของ จนวิวัฒนาการมาเป็น โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย ดังในปัจจุบัน
ความพยายามในการรื้อฟื้น มหามกุฏราชวิทยาลัย โดยมีวัดบวรนิเวศวิหารสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง จนประเทศไทย มีมหาวิทยาลัยสงฆ์ไว้ผลิต
ศาสนทายาทที่เหมาะสมแก่สมัย
ความพยายามในการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐแห่งแรกของประเทศ
วัดบวรนิเวศวิหาร มีตำหนักเพ็ชรซึ่งใช้เป็นสถานที่ประชุมกรรมการมหาเถรสมาคม ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
การศึกษาปริยัติธรรมในวัดบวรนิเวศวิหาร
วัดบวรนิเวศวิหารได้ส่งเสริมการศึกษาภาษาบาลี มาตั้งแต่เริ่มมีวัดนี้ โดยเฉพาะในยุคที่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงครองวัด กล่าวกันว่าทรงเน้นให้ศึกษาอย่างเข้มงวด จนกระทั่งว่าศิษยานุศิษย์ของพระองค์สามารถสนทนาภาษาบาลีได้เพราะ ทรงจัดให้มีการเรียนการสอนภาษาบาลีแก่พระภิกษุสามเณรภายในวัดอย่างแตกฉานเพื่อให้สามารถอ่านคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา ฯลฯ ได้จากต้นฉบับใบลาน หลังจากนั้น เป็นต้นมา วัดบวรนิเวศวิหารก็ได้เป็นสดมภ์หลักในการตรวจชำระคัมภีร์ใบลาน ภาษาบาลีแล้วจัดพิมพ์ออกมาในรูปพระไตรปิฎก คัมภีร์อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา ฯลฯ ออกมาเผยแผ่ไปทั่วประเทศ ซึ่งล้วนแต่เป็น ผลงานของศิษยานุศิษย์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทั้งนั้น
วัดบวรนิเวศวิหาร
มีกล่าวถึงพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ระหว่างทรงผนวช ใน ตำนานวัดบวรนิเวศวิหาร เล่ม 1 หน้า 22 ทรงทำนุบำรุงการเรียนพระปริยัติธรรมให้รุ่งเรือง ทรงบอกพระปริยัติธรรมเอง มีภิกษุสามเณรเป็นศิษย์เข้าแปลในสนามหลวง ได้เป็นเปรียญประโยคสูงถึงประโยค ๙ ก็มีหลายรูป พระสำนักอื่นมาขอเรียนบ้างก็มี ทรงเป็นหลักอยู่ในการไล่หนังสือพระองค์หนึ่ง ครั้งนั้น พระเปรียญพูดมคธได้คล่อง มีพระลังกาเข้ามาจึงต้องทรงมีหน้าที่เป็นผู้รับรองในราชการ มีคณะไว้สำหรับพระลังกาที่วัด วัดบวรนิเวศวิหารเคยมีชื่อเสียงโด่งดังด้านการศึกษาพระปริยัติธรรม มาก สามเณรสา ปุสสเทวะ ผู้สอบได้เปรียญ ๙ ประโยค ถึง 2 ครั้งก็เคยอยู่วัดนี้ ครั้งแรกเมื่อสอบได้เปรียญ ๙ ประโยค ยังเป็นสามเณรสา ที่วัดราชาธิวาสวิหาร ครั้งที่ 2 มาสอบได้เปรียญ ๙ ประโยคอีกครั้ง ที่วัดบวรนิเวศวิหารนี้เอง
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ผู้ทรงเป็นปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาและภาษาบาลีก็เคยทรงครองวัด บวรนิเวศวิหาร ระหว่างทรงครองวัดในฐานะเจ้าอาวาส พระองค์ก็ทรงจัดพิมพ์ตำรับตำราภาษาบาลีมากมาย ระยะหลัง มีประชาชน จำนวนมากมีศรัทธาเลื่อมใสเข้ามาบวชอยู่ในวัดบวรนิเวศวิหารระยะสั้นตลอดทั้งปี วัดบวรนิเวศวิหารรับภาระในการจัดอบรมหลักสูตร นวกะระยะสั้นเสียเป็นส่วนมาก เสนาสนะจึงค่อนข้างจำกัด ในที่สุด วัดบวรนิเวศวิหารจึงหันมาเน้นให้การศึกษาอบรมแก่ผู้บวช ระยะสั้น ทั้งในพรรษาและนอกพรรษา ปริมาณผู้สอบเปรียญบาลีสูงๆ ได้จึงลดลงมาก
แต่ในยุคสมัยที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก รูปปัจจุบันทรงครองวัด พระองค์ได้ทรงแต่งตั้ง พระพรหมมุนี (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต ป.๙) เป็นผู้อำนวยการสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหารเพื่อดูแลการศึกษาพระ ปริยัติธรรม และก็มีพระภิกษุสามเณรสอบเปรียญธรรมได้ทุกๆ ปีไม่เคยขาด โดยมีวัดธรรมยุตอีกประมาณ ๙ วัดขึ้นกับสำนัก เรียนวัดบวรนิเวศวิหาร อาทิ วัดดวงแข, วัดเขมาภิรตาราม, วัดบวรมงคล, วัดตรีทศเทพ, วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม, วัดบุรณศิริมาตยาราม
นอกจากนั้น ในยุคสมัยของพระองค์ ยังมีผู้สอบเปรียญ ๙ ประโยคได้ขณะยังเป็นสามเณรและได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ เป็น นาคหลวง อุปสมบทในพระบรมราชานุเคราะห์ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง 2 รูป คือ สามเณร ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์ และสามเณรฉัตรชัย มูลสาร โดยสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์และจัดงานมุทิตาเนื่องในวันประสูติของพระองค์แก่สามเณรทั้งสองรูป
วัดบวรนิเวศวิหารกับงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา
วัดบวรนิเวศวิหารได้เป็นที่มั่นที่สำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทั้งปริยัติและปฏิบัติ ในฝ่ายปฏิบัตินั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงสร้างวัด อีกวัดหนึ่งคู่กับวัดบวรนิเวศวิหารคือวัดบรมนิวาส ไว้เป็นสถานที่สำหรับฝึกวิปัสสนาจารย์โดยเฉพาะในกรณีที่ศิษยานุศิษย์ของพระองค์ประสงค์จะฝึก ต่อมา วัดบรมนิวาสแห่งนี้ยังกลายเป็นวัดที่พระวิปัสสนาจารย์รุ่นแรกๆ อาทิ หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ได้มาพำนักอาศัยและศึกษาเพิ่มเติมจนกลายเป็น พระวิปัสสนาจารย์สายวัดป่าที่มีชื่อเสียงไปทั่วประเทศ ด้วยเหตุนี้ พระป่าสายธรรมยุตจึงยกย่องพระจอมเกล้าฯ ว่าเป็นผู้วางรากฐานการปฏิบัติสาย พระป่าไว้อย่างมั่นคง เพราะทรงเน้นศิษยานุศิษย์ของพระองค์ที่อยู่วัดบวรนิเวศวิหารและอยู่ที่วัดบรมนิวาสให้มีศีลสิกขาอย่างเคร่งครัดก่อนจะลงมือ ปฏิบัติ หมายความว่ามีความรู้ปริยัติที่ถูกต้องก่อนลงมือปฏิบัตินั่นเอง ส่วนฝ่ายปริยัตินั้น วัดบวรนิเวศวิหารก็มีการอบรมทั้งพระนวกะและผู้ประสงค์จะ ศึกษาภาษาบาลีระยะยาวอยู่ทุกๆ ปี
ปัจจุบันนี้ วัดบวรนิเวศวิหารยังขยายการเผยแผ่ไปยังต่างประเทศ โดยสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชทรงกระตุ้นให้เกิดการแปลคัมภีร์ ทางพระพุทธศาสนาเป็นภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้นมากมาย ทำให้หลักสูตรนักธรรมและธรรมศึกษามีเผยแพร่ไปยังต่างประเทศด้วย ตำรับตำราที่พระ องค์ทรงบุกเบิกให้แปลเป็นภาษาอังกฤษมีจำหน่ายที่ มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
นอกจากนั้น วัดบวรนิเวศวิหารยังเป็นที่ตั้งสำนักงานของ มูลนิธิแผ่นดินธรรม ซึ่งผลิตรายการธรรมะออกเผยแผ่ พุทธธรรม ทางโทรทัศน์ช่อง 5 ทุกวันอาทิตย์ เวลา 06.30-7.00 น. และทุกวันพฤหัสบดี ทางโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 5 เวลา 14.00-14.30 น. ทั้งยังเป็นสำนักงานที่ตั้งของ ศูนย์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย ซึ่งมีหน้าที่ส่งเสริมและพิทักษ์พระพุทธศาสนาอีกด้วย
Wat Bowon Niwet วัดบวรนิเวศวิหาร The building is located on Phra Sumen Road, in Banglamphu area. Built in 1829, it is the shrine-hall of Phra Phutthachinasri which was molded in about 1357. Wat Bowon Niwet is one of the most important temples of Bangkok, whose one-time chief abbot was King Rama IV before he ascended the throne. Other Chakri Kings who had resided here during their monkhood include King Rama IV and King Rama VII, as well as His Majesty King Bhumibol Adulyadej.
Latitude : 13.760474290168391, Longitude : 100.50001717759747
View Larger Map
View On Google Map
Edit Data
Images
-
วัดบวรนิเวศวิหาร Wat Bowon Niwet
-
วัดบวรนิเวศวิหาร Wat Bowon Niwet
-
วัดบวรนิเวศวิหาร Wat Bowon Niwet
-
วัดบวรนิเวศวิหาร Wat Bowon Niwet
-
วัดบวรนิเวศวิหาร Wat Bowon Niwet
-
วัดบวรนิเวศวิหาร Wat Bowon Niwet