Attraction พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติถลาง Thalang National Museum : ภูเก็ต
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติถลาง ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกอนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร ห่างจากอนุสาวรีย์ไปทางถนนสายป่าคลอกประมาณ 200 เมตร มีเนื้อที่ 13 ไร่ อยู่ในเขตพื้นที่ หมู่ที่ 3 ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ประวัติความเป็นมา พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติถลาง เป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติประจำจังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นท้องถิ่นที่มีเกียรติประวัติในการปกป้องเอกราชของชาติในสงครามเก้าทัพ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์นาม “ถลาง” ได้รับการจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ชาติไทย เมื่อท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร ได้ประกอบวีรกรรมขับไล่อริราชศัตรูให้พ้นจากแผ่นดินไทย ในปี พ.ศ. 2328 ในวาระครบรอบ 200 ปี ศึกถลาง คือในปี พ.ศ. 2528 ชาวจังหวัดภูเก็ตจึงได้ร่วมมือกับกรมศิลปากร ดำเนินการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติถลางขึ้นเพื่อเป็นอนุสรสถานเชิดชูเกียรติของสองวีรสตรี และเพื่อเป็นแหล่งรวบรวมการจัดการแสดงให้ความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปวัฒนธรรม ของจังหวัดภูเก็ตและพื้นที่ใกล้เคียงแถบชายฝั่งทะเลอันดามัน รวมทั้งเป็นสถานที่อนุรักษ์มรดกศิลปวัฒนธรรมและสนับสนุนกิจการด้านการท่องเที่ยวของภูเก็ต อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติถลาง ได้เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2528 แล้วดำเนินการเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2532 โดย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติถลาง เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2532 ลักษณะอาคาร การออกแบบก่อสร้างอาคารพิธภัณฑสถานแห่งชาติถลางสถาปนิกได้นำรูปแบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นภาคใต้มาประยุกต์เป็นอาคารพิพิธภัณฑ์ที่คงทนถาวร โดยยังคงรักษาลักษณะบ้านท้องถิ่นของชาวภูเก็ตไว้ เช่น ลักษณะเรือนไม้มีหลังคา 3 ด้าน โดยมีด้านหน้าเป็นรูปจั่ว ยกพื้นที่สูง หลังคามุงจาก ฝาเรือนเป็นไม้ขัดแตะ และไม้ไผ่สานลายปิดจั่ว เป็นต้น อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติถลาง จึงเป็นอาคารที่ทรงคุณค่าในแง่ของการอนุรักษ์รูปแบบศิลปะสถาปัตยกรรมท้องถิ่น และจากการประกวดผลงานด้านสถาปัตยกรรมดีเด่น ประเภทส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม ชื่อรางวัล Gold Medal อันเป็นผลงานการออกแบบของ นายอุดม สกุลพาณิชย์
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติถลาง Thalang National Museum
การจัดแสดง การจัดแสดงนิทรรศการถาวรภายในอาคารจัดแสดงทั้ง 2 หลัง เน้นการนำเสนอเนื้อหาเรื่องราวทางด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี ชาติพันธุ์วิทยา และศิลปวัฒนธรรมของจังหวัดภูเก็ตและพื้นที่ใกล้เคียง ดังนี้
1. สมัยก่อนประวัติศาสตร์ แสดงความเป็นอยู่ของมนุษย์สมัยก่อน ประวัติศาสตร์ แหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ แถบชายฝั่งทะเลอันดามัน และโบราณวัตถุซึ่งได้จากการสำรวจขุดค้น
2. อารยธรรมอินเดียบนคาบสมุทรภาคใต้แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างอินเดียกับดินแดนคาบสมุทรภาคใต้ของประเทศไทยที่มีมาแต่โบราณนับพันปี โดยยังคงมีศิลปะโบราณวัตถุเป็นหลักฐานสำคัญ ได้แก่ เทวรูปพระนารายณ์ หรือพระวิษณุ รวมถึงพระพิมพ์ดินดิบแบบต่างๆ สถูปจำลอง ลูกปัด เป็นต้น
3. ประวัติศาสตร์ของจังหวัดภูเก็ต แสดงเรื่องเกี่ยวกับจังหวัดภูเก็ตนับแต่อดีต เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ เช่น เหตุการณ์เมื่อครั้งศึกถลาง ความเจริญรุ่งเรืองของภูเก็ตในสมัยพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี เป็นต้น
4. ชาติพันธุ์วิทยา แสดงเอกลักษณ์ ด้านศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีความเป็นอยู่ อาชีพ เครื่องมือเครื่องใช้ ของกลุ่มชนผู้อาศัยอบยู่ในจังหวัดภูเก็ต เช่น เกี่ยวกับวิถีชีวิตชาวจีน ชาวเล การทำเหมืองแร่ การทำสวนยางพารา เป็นต้น
The museum is situated on Pa Khlok Road, only 200 metres from the intersection of the Monument of the Two Heroic Sisters of Phuket. The exhibition hall was designed in the Phuket local house style consisting of 2 buildings. The first building exhibits prehistory of the West Coast. In the prehistoric time, there came an Indian civilization culture such history, methods of tin mining, and rubber plantation; as well as folk arts and ethnology in the area of Malay Peninsula. Moreover, the second building exhibits the story of the battle in Thalang. Other exhibits include a display of daily life of Chinese people in Phuket, and the story of gypsies on the sea, the island’s original inhabitants.
Thalang National Museum is the national museum of Phuket, constructed to honor the two women for their patriotic heroism of protecting the Thai independence during the Ninth Battalion War. The museum is an ideal source to provide knowledge about the history, archeology, art and culture of Phuket and the Andaman coast. It is a place to preserve cultural heritage and promote Phuket tourism. Thalang National Museum Building is an invaluable building in terms of preserving local architectural styles.
Latitude : 7.98103275048887, Longitude : 98.36675482617127
View Larger Map
View On Google Map
Edit Data
Images
-
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติถลาง Thalang National Museum
-
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติถลาง Thalang National Museum
-
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติถลาง Thalang National Museum
-
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติถลาง Thalang National Museum
-
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติถลาง Thalang National Museum
-
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติถลาง Thalang National Museum