Attraction อุทยานแห่งชาติทับลาน Thap Lan National Park : ปราจีนบุรี
อุทยานแห่งชาติทับลาน Thap Lan National Park
ข้อมูลทั่วไป อุทยานแห่งชาติทับลาน มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอปักธงชัย อำเภอวังน้ำเขียว อำเภอครบุรี อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา และอำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี สภาพป่ามีความอุดมสมบูรณ์และมีป่าลาน ซึ่งหาดูได้ยากที่มีเฉพาะบางท้องที่เท่านั้น มีต้นลานขึ้นตามธรรมชาติ เป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำ ลำธารต่างๆ และมีธรรมชาติที่สวยงาม เช่น หุบผา หน้าผา น้ำตก เป็นอุทยานแห่งชาติที่มีเนื้อที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศ คือ มีเนื้อที่ประมาณ 1,397,375ไร่ หรือ 2,235.80 ตารางกิโลเมตร
ในอดีตป่าลานที่อุดมสมบูรณ์มีขึ้นอยู่กระจายทั่วๆ ไปในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต่อมามีการขยายตัวของพื้นที่เกษตรกรรม จึงทำให้ป่าลานได้ถูกบุกรุกทำลายลงไปมาก จนปัจจุบันคงเหลือป่าลานแห่งสุดท้าย คือ บริเวณบ้านทับลาน บ้านขุนศรี บ้านบุพราหมณ์ และบ้านวังมืด จังหวัดปราจีนบุรี ในการไปตรวจสอบสภาพป่าลานเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2517 นายประดิษฐ์ วนาพิทักษ์ อธิบดีกรมป่าไม้ พบว่า ป่าลานในบริเวณดังกล่าวเป็นป่าลานแห่งสุดท้ายของประเทศเพื่ออนุรักษ์ป่าลานไว้ จึงมีดำริให้จัดตั้งป่าลานนี้เนื้อที่ประมาณ 36,250 ไร่ หรือ 58 ตารางกิโลเมตร เป็นวนอุทยาน และในการประชุมคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติครั้งที่ 1/2518 เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2518 ได้มีมติให้ดำเนินการวางแผนปฏิบัติการที่ป่าลานกบินทร์บุรี ซึ่งสำนักงานป่าไม้เขตปราจีนบุรี ได้มีคำสั่งที่ 169/2518 ลงวันที่ 11 เมษายน 2518 และคำสั่งที่ 194/2518 ลงวันที่ 15 เมษายน 2518 ให้ นายสุชล ผาติเสนะ นักวิชาการป่าไม้ตรี และ นายยัณห์ ทักสูงเนิน พนักงานประจำเขต โดยอยู่ในความควบคุมการดำเนินงานของนายไพโรจน์ เชี่ยวเอี่ยมวัฒนา นักวิชาการป่าไม้โท ไปดำเนินการรังวัดหมายแนวเขต และจัดพื้นที่ปรับปรุงให้เป็นวนอุทยานป่าลาน ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติแก่งดินสอ-แก่งใหญ่-เขาสะโตน จังหวัดปราจีนบุรี
ต่อมากองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้มีคำสั่งที่ 2383/2520 ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2520 ให้นายเชาวลิต เลิศชยันตรี นักวิชาการป่าไม้ 5 ทำหน้าที่หัวหน้าวนอุทยานทับลาน และในปี พ.ศ. 2523 กองอุทยานแห่งชาติ ได้ให้วนอุทยานทับลานสำรวจพื้นที่โดยรอบ เพื่อผนวกพื้นที่บริเวณใกล้เคียงแนวเขตติดต่อวนอุทยาน ยกฐานะวนอุทยานทับลานเป็นอุทยานแห่งชาติ ผลการสำรวจปรากฏว่า บริเวณป่าดังกล่าวโดยรอบมีสภาพป่าสมบูรณ์ มีทิวทัศน์สวยงาม สัตว์ป่าชุกชุมเป็นป่าต้นน้ำลำธารของแม่น้ำบางปะกงและแม่น้ำมูล ตามหนังสือรายงานผลการสำรวจ ที่ กส 0708(ทล.)/16 ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2523 ทั้งเพื่อเป็นการสนองมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2522 ที่ให้รักษาป่าไว้โดยการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติ
กรมป่าไม้จึงเสนอให้คณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 2/2523 เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2523 เห็นสมควรออกพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ป่าดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าวังน้ำเขียวและป่าครบุรี ในท้องที่ตำบลสะแกราช ตำบลวังน้ำเขียว อำเภอปักธงชัย ตำบลครบุรี ตำบลจระเข้หิน ตำบลโคกกระชาย อำเภอครบุรี และตำบลสระตะเคียน ตำบลโนนสมบูรณ์ อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา และป่าแก่งดินสอ ป่าแก่งใหญ่ และป่าเขาสะโตน ในท้องที่ตำบลบุพราหมณ์ ตำบลทุ่งโพธิ์ อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 98 ตอนที่ 210 ลงวันที่ 23 ธันวาคม 2524 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 39 ของประเทศ
ต่อมาได้มีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2531 อนุญาตให้กรมชลประทานใช้พื้นที่ในเขตอุทยานแห่งชาติทับลานบริเวณป่าวังน้ำเขียว ป่าครบุรี ป่าแก่งดินสอ ป่าแก่งใหญ่ และป่าเขาสะโตน บางส่วนในท้องที่ตำบลจระเข้หิน อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำลำมูลบน เพื่อพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีเนื้อที่ 2,625 ไร่ หรือ 4.20 ตารางกิโลเมตร โดยให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนพื้นที่ส่วนนี้ออก และในปี 2532 จึงได้มีพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนอุทยานแห่งชาติป่าวังน้ำเขียว ป่าครบุรี ป่าแก่งดินสอ ป่าแก่งใหญ่ และป่าเขาสะโตน บางส่วนในท้องที่ตำบลจระเข้หิน อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา ออกจากการเป็นอุทยานแห่งชาติตามที่กำหนดไว้โดยพระราชกฤษฎีกาเดิมปี พ.ศ. 2524 ซึ่งประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 106 ตอนที่ 107 ลงวันที่ 7 กรกฎาคม 2532
ลักษณะภูมิประเทศ อุทยานแห่งชาติทับลาน เป็นอุทยานแห่งชาติที่มีพื้นที่ส่วนหนึ่งอยู่ในเขตเทือกเขาพนมดงรัก สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปประกอบด้วยภูเขาใหญ่น้อยสลับซับซ้อนต่อเนื่องกันเป็นบริเวณกว้างขวาง โดยมีเขาที่สำคัญหลายลูก เช่น เขาละมั่ง เขาภูสามง่าม เขาภูสูง เขาใหญ่ เขาวง เขาสลัดได เขาทิดสี เขาไม้ปล้อง เขาทับเจ็ก และเขาด่านงิ้ว ซึ่งยอดเขาละมั่งเป็นยอดเขาที่สูงสุด มีระดับความสูงประมาณ 992 เมตรจากระดับน้ำทะเล เป็นเทือกเขายาวต่อเนื่องกันทำให้มีหุบเขาตามธรรมชาติ เหว และน้ำตก เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำหลายสาย เช่น ห้วยขมิ้น ห้วยปลาก้าง ห้วยคำแช ห้วยคำขี้แรด ห้วยมูลสามง่าม ห้วยภูหอม ห้วยกระทิง ห้วยลำเลย ห้วยกุดตาสี ห้วยลำดวน เป็นต้น ลำห้วยแต่ละสายไหลรวมกันเป็นแม่น้ำมูล ส่วนลำห้วยสวนน้ำหอม ห้วยหินยาว ห้วยชมพู ห้วยสาลิกา ห้วยวังมืด ห้วยลำไยใหญ่ ฯลฯ ลำห้วยเหล่านี้จะไหลรวมกันเป็นแม่น้ำบางปะกง
ลักษณะภูมิอากาศ อุทยานแห่งชาติทับลาน ในช่วงฤดูลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ความชุ่มชื้นจะถูกพัดมาจากทะเลอันดามันและอ่าวไทย จนทำให้พื้นที่บริเวณนี้ได้รับปริมาณน้ำฝนมาก เฉลี่ยตลอดปี 1,070 มิลลิเมตร ฝนจะตกชุกที่สุดในเดือนกันยายน ซึ่งเทือกเขาพนมดงรักจะปะทะลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และทำให้ฝนตกในบริเวณด้านรับลมมากกว่าด้านไม่รับลม ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมากราคม อากาศจะหนาวเย็นมากในเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นเดือนที่มีค่าเฉลี่ยอุณหภูมิต่ำสุด 22.8 องศาเซลเซียส ฟดูร้อนเริ่มตั้งแต่กุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม อากาศจะร้อนอบอ้าวมากในเดือนเมษายนซึ่งมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 29.3 องศาเซลเซียส สำหรับอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 26.7 องศาเซลเซียส
พืชพรรณและสัตว์ป่า อุทยานแห่งชาติทับลาน มีสังคมพืชที่จัดเป็นป่าลุ่มต่ำที่มีความสมบูรณ์มากสามารถจำแนกได้ 4 ประเภท คือ ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบชื้น และป่าดิบแล้ง จัดเป็นสังคมพืชที่มีการซ้อนทับกันของลักษระทางนิเวศของป่าภาคกลางและป่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความหลากหลายของชนิดพันธุ์ไม้และสัตว์ป่าชุกชุม
ป่าเต็งรัง ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลานมีสภาพเป็นป่าโปร่ง ขาดแคลนแหล่งน้ำ มีต้นไม้ขึ้นกระจัดกระจายทั่วพื้นที่และมักจะมีลำต้นเล็กและเตี้ย พืชพื้นล่างเป็นพวกหญ้าเพ็ก หญ้าคา และสาบเสือ พันธุ์ไม้ที่สำคัญ เช่น เต็ง รัง เหียง พลวง ฯลฯ
ป่าเบญจพรรณ จะมีไม้ต่างชนิดขึ้นปะปน และจะพบไผ่ขึ้นปนมากมาย มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ เช่น แดง ตะแบกใหญ่ ประดู่ มะกอก ชิงชัน ฯลฯ พืชพื้นล่างที่สำคัญ เช่น ไผ่กาย โด่ไม่รู้ล่ม เป็นต้น ป่าผลัดใบเหล่านี้ในช่วงฤดูฝนไม้พื้นล่างจะผลิใบอ่อนเป็นแหล่งอาหารสำคัญของสัตว์กินพืช ได้แก่ ช้างป่า กระทิง วัวแดง กวางป่า และนกที่อาศัยพื้นที่นี้ได้แก่ ไก่ป่า เหยี่ยวชิครา นกแขกเต้า นกหัวขวาน สัตว์เลื้อยคลานที่พบได้แก่ ตะกวด และแย้ เป็นต้น
ป่าดงดิบชื้น พบขึ้นอยู่ทั่วไปในพื้นที่ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 400-1,000 เมตร
ป่าดงดิบแล้ง จะพบขึ้นอยู่บนพื้นที่ค่อนข้างราบ ไม้ที่พบโดยทั่วไปได้แก่ ยางนา ยางแดง เป็นต้น จากลักษณะเรือนยอดที่ต่อเนื่องกันนั้นจึงเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของชะนีมือขาว ชะนีมงกุฎ ค่างหงอก ลิงกัง พญากระรอกบินหูแดง และจากสภาพป่าที่มีความรกทึบเป็นที่หลบพักและซ่อนตัวของสัตว์ใหญ่ เช่น ช้างป่า กระทิง นกป่าที่หากินและดำเนินกิจกรรมอยู่ในพื้นที่ ได้แก่ ไก่ฟ้าพญาลอ ไก่ฟ้าหลังขาว นกมูม นกลุมพู นกเค้าเหยี่ยว นกเงือกกรามช้าง นกแก๊ก นกกก นกพญาปากกว้างสีดำ นกพญาปากกว้างหางยาว นกขุนแผนหัวแดง และนกขุนทอง สัตว์เลื้อยคลานที่พบได้แก่ ตะกวด เต่าใบไม้ เต่าเหลือง และตะกอง เป็นต้น
นอกจากนี้ อุทยานแห่งชาติทับลานยังมีป่าอีกชนิดหนึ่งซึ่งถือเป็นประเภทป่าผลัดใบ ป่าชนิดนี้ถูกเรียกว่า “ป่าลาน” สภาพจะเป็นป่าโปร่ง มีลานขึ้นอย่างหนาแน่นทั่วพื้นที่ ป่าลานนี้มีเนื้อที่ 200 ไร่ บริเวณที่ราบบนเขาละมั่ง ด้านตำบลบุพราหมณ์ อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี ไม้ลานเป็นพืชในตระกูลปาล์ม (Palmae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Corypha lecomtei Becc. บริเวณป่าลานและป่ารุ่นเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าที่สามารถปรับตัวอยู่ในสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้แก่ กระรอก หนู กระต่ายป่า พังพอน เก้ง กวางป่า เหยี่ยวขาว นกคุ่มอกลาย กิ้งก่าหัวแดง ตุ๊กแกบ้าน กิ้งก่าหางยาว อึ่งอ่างบ้าน และคางคก เป็นต้น
บริเวณเขาหินปูน ถ้ำ หน้าผา ซึ่งได้แก่บริเวณเขาละมั่ง เขาวง และภูสามง่าม เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย และที่กำบังภัยของสัตว์ป่าบางชนิด เช่น เลียงผา เม่นหางพวง และค้างคาว เป็นต้น บริเวณแหล่งน้ำ ห้วย ลำธาร เป็นย่านที่อาศัยของสัตว์ป่าบางชนิดได้แก่ งูปลิง กบหงอน เขียดอ่องเล็ก นกยางไฟธรรมดา นกยางเขียว นกกระเต็นธรรมดา นกกระเต็นใหญ่ธรรมดากำกวม และนกกระเต็นลาย ปลาน้ำจืดที่พบ เช่น ปลาชะโอน ปลาดุกเนื้อเลน ปลากระสง ปลาดัก และปลากระทิงดำ เป็นต้น
ป่าลาน เป็นป่าลานผืนใหญ่แห่งสุดท้ายของประเทศไทย มีต้นลานซึ่งเป็นพันธุ์ไม้ดึกดำบรรพ์ในวงศ์ปาล์ม มีใบใหญ่เป็นรูปพัดคล้ายใบตาล ซึ่งช่อดอกจะออกที่ยอดเมื่อมีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป มีดอกเป็นจำนวนมากกว่าล้านดอกในแต่ละช่อ และใช้เวลา 1 ปีกว่า ช่อดอกจะบานและติดผลกลมสีเขียว เมื่อผลแก่ร่วงลงพื้นจะงอกเป็นต้นใหม่ ปล่อยให้ต้นแม่ตายลง ต้นลานเป็นไม้โตช้าและแพร่กระจายอยู่ไม่มาก ปัจจุบันจึงพบเห็นต้นลานได้ค่อนข้างยาก กิจกรรม -ชมพรรณไม้ - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
น้ำตกห้วยใหญ่ เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ สวยงาม สูงประมาณ 50 เมตร กว้างประมาณ 30 เมตร หน้าผาตรงบริเวณน้ำตกโค้งเป็นมุม 150 องศา น้ำตกแห่งนี้อยู่ห่างจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 (กบินทร์บุรี-ปักธงชัย) ตรงหลักกิโลเมตรที่ 79 ประมาณ 6 กิโลเมตร กิจกรรม -เที่ยวน้ำตก
น้ำตกห้วยคำภู อยู่ในท้องที่ตำบลแก่งดินสอ อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี ระยะทางห่างจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 ประมาณ 20 กิโลเมตร ลักษณะเป็นลำธารที่มีน้ำไหลลดหลั่นกันมาเป็นชั้นๆ ด้านล่างเป็นฝายน้ำล้นเหมาะสำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ กิจกรรม -เที่ยวน้ำตก
น้ำตกบ่อทอง น้ำตกบ่อทอง อยู่ในท้องที่ตำบลบุพราหมณ์ อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี ระยะทางห่างจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 ประมาณ 6 กิโลเมตร และต้องเดินเท้าเข้าไปอีกประมาณ 500 เมตร เป็นน้ำตกที่มีความสวยงามมากในช่วงฤดูฝน (ประมาณเดือนกรกฎาคม-เดือนกันยายน) ในฤดูแล้ง น้ำจะค่อนข้างน้อย กิจกรรม -เดินป่าศึกษาธรรมชาติ - เที่ยวน้ำตก
น้ำตกสวนห้อม ห้วยขมิ้น ห้วยใหญ่ใต้ อยู่ในท้องที่ตำบลวังน้ำเขียว อำเภอวังน้ำเขียว จังหวันครราชสีมา ห่างจากถนนสาย 304 ประมาณ 6 กิโลเมตร น้ำตกมีลักษณะเป็นหน้าผา สูงประมาณ 50 เมตร กว้างประมาณ 30 เมตร น้ำตกมีความสวยงามมากในฤดูฝนประมาณเดือนกรกฎาคม - กันยายน ในฤดูแล้งน้ำจะค่อนข้างน้อย บริเวณใกล้เคียงน้ำตกทางอุทยานแห่งชาติทับลาน ได้จัดสถานที่กางเต็นท์อยู่บนเนินเขาไว้บริการนักท่องเที่ยว จากจุดกางเต็นท์นี้สามารถมองเห็นน้ำตก ทิวทัศน์ที่สวยงามของอุทยานแห่งชาติได้อย่างดี นับเป็นสถานที่กางเต็นท์ที่นักท่องเที่ยวน่าไปสัมผัสอีกแห่งหนึ่ง กิจกรรม -แค็มป์ปิ้ง - ชมทิวทัศน์ - เที่ยวน้ำตก
เขามะค่า เขามะค่า อยู่ในท้องที่ตำบลอุดมทรัพย์ อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา ห่างจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 ประมาณ 5 กิโลเมตร เส้นทางเป็นทางขึ้นเขา ชมทัศนียภาพได้ตลอดเส้นทางที่เดินทาง เหมาะสำหรับคณะนักศึกษา นักเรียนที่จะมาทัศนศึกษานอกโรงเรียน มีสถานที่กางเต็นท์มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติชมทิวทัศน์บนภูเขาที่สวยงาม กิจกรรม -แค็มป์ปิ้ง - ชมทิวทัศน์ - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ เขื่อนลำมูลบน อยู่ในเขตอำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา แยกจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 บริเวณกิโลเมตรที่ 92 เข้าไปประมาณ 20 กิโลเมตร เป็นเขื่อนดินสูงประมาณ 30 เมตร ได้มีการพัฒนาบริเวณของเขื่อนเป็นแหล่งท่องเที่ยวทำเป็นหาดบริเวณท้ายเขื่อน เรียกว่า หาดจอมทอง เหมาะสำหรับเป็นที่พักผ่อน นั่งตากอากาศ ลงเล่นน้ำ ล่องแพ และขึ้นไปชมทิวทัศน์บนเขาจอมทอง กิจกรรม -ชมทิวทัศน์ - ล่องแพ/ล่องเรือ
ลำแปรง ห่างจากอำเภอครบุรี ประมาณ 35 กิโลเมตร เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ มีสัตว์ป่า ดูนก เข้าค่ายของนักเรียน นักศึกษา มีบ้านพักรับรอง มีสถานที่กางเต็นท์ เส้นทางสามารถเดินทางไปอุทยานแห่งชาติปางสีดาได้ กิจกรรม -แค็มป์ปิ้ง - ดูนก - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
เขื่อนลำปลายมาศ ระยะทางห่างจากตัวอำเภอเสิงสาง ประมาณ 17 กิโลเมตร มีสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงาม คือ หาดชมตะวันที่ทางอุทยานแห่งชาติทับลานร่วมกับอำเภอเสิงสาง จัดทำแหล่งท่องเที่ยวในปีอะเมชซิ่งไทยแลนด์ ที่เขื่อนลำปลายมาศ มีการล่องเรือ แพ มีหาดทรายเล่นน้ำ หาดยาวประมาณ 300 เมตร เหมาะสำหรับที่จะท่องเที่ยวแบบครอบครัว แบบหมู่คณะ ทางอุทยานแห่งชาติมีบ้านพักรับรองและสถานที่กางเต็นท์ไว้บริการ กิจกรรม -แค็มป์ปิ้ง - ชมทิวทัศน์ - ล่องแพ/ล่องเรือ
น้ำตกเหวนกกก อยู่ในเขตอำเภอนาดี มีทางเข้าอยู่ก่อนถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 3 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าไป 4 กิโลเมตร และต้องเดินเท้าขึ้นเขาต่อไปอีก 5 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ที่ไหลลงมาจากลานผากว้าง สูง 20 เมตร แล้วไหลลดหลั่นต่อไปตามลานหินอย่างสวยงาม แต่มีน้ำเฉพาะช่วงหน้าฝนเท่านั้น
สถานที่ติดต่อ อุทยานแห่งชาติทับลาน ตู้ ปณ. 37 อ. กบินทร์บุรี จ. ปราจีนบุรี 25110 โทรศัพท์ 0 3721 9408 อีเมล reserve@dnp.go.th
การเดินทาง รถยนต์ ที่ทำการอุทยานแห่งชาติทับลาน อยู่ติดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 ห่างจากกรุงเทพฯ เพียง 197 กิโลเมตร จากสี่แยกกบินทร์บุรีใหม่ ตามถนนสายกบินทร์บุรี - โคราช เดินทางประมาณ 32 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติทับลาน
รถโดยสารประจำทาง จากกรุงเทพฯ ขึ้นรถโดยสารที่สถานีหมอชิต (สถานีขนส่งสายเหนือ) สายกรุงเทพฯ - กบินทร์บุรี ลงที่กบินทร์บุรี จากนั้นต่อรถโดยสารสายกบินทร์บุรี - โคราช ไปอีก 32 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งอยู่ติดกับถนนใหญ่
ที่พักแรม/บ้านพัก มีบ้านพักให้บริการแก่นักท่องเที่ยว จำนวน 3 หลัง - บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ทล.2 (ลำปลายมาศ) 1 หลัง - บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ทล.11 (ไทยสามัคคี) 1 หลัง - บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ทล.13 (สวนห้อม) 1 หลัง
สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์ มีพื้นที่กางเต็นท์อยู่บนเนินเขาไว้บริการนักท่องเที่ยว บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ทล.13 (สวนห้อม) จากจุดกางเต็นท์นี้สามารถมองเห็นน้ำตก ทิวทัศน์ที่สวยงามของอุทยานแห่งชาติได้อย่างดี นักท่องเที่ยวต้องจัดเตรียมเต็นท์และอาหารไปเอง
Thap Lan National Park
General Information Thap Lan National Park was declared as Thailand’s 40th National Park in December 1981. It is the country’s second largest National Park, covering an area of 2,235.80 sq.km. The highest peak of the Park is Khao Lamang, at a height of 992 m above sea level. Thap Lan National Park extends across two provinces: Nakhon Ratchasima and Pranchin Buri. Park Headquarters are situated about 197 km from Bangkok. The Thap Lan area is comprised of continuous mountain ranges with naturally created valleys, chasms and waterfalls. Thap Lan National Park is one of six related areas under the management of National Parks, Wildlife and Plant Conservation, which together constitute Queen Sirikit’s Dong Phayayen-Khao Yai Forest Complex, in recognition of Her Majesty the Queen’s 72nd birthday anniversary. The other five areas are Khao Yai National Park, Pangsida National Park; Ta Phraya National Park; Phraphutthachai National Park; and Dongyai Wildlife Sanctuary. See the relevant brochures for more information on each area. Of Cultural Interest: The fan palm has a special place in Thai culture as its leaves were used as parchment, on which Buddhist texts were inscribed. During the 1960s and 1970s, communist guerillas sought refuge in the area we know today as Thap Lan National Park. These refugees cleared forest for rice cultivation, and the remnants of their encampments can still be seen today. More recently, influential officials exploited local villagers, forcing them to carry out illegal logging within the Park’s boundaries. Often, the loggers settled in the Park to enable them to easily clear new land for agriculture. However, attitudes have begun to change in recent years, and now the villagers themselves are working with Park authorities to help restore the Park’s forests. For example, the Petroleum Authority of Thailand has sponsored one project involving tree planting at the edge of the Park. The trees are provided by the Royal Forest Department and are planted by local villagers. Wildlife Fund Thailand (an NGO) provides expertise and training for the villagers, and has helped them to make an exhibition in the village to explain the project to the wider community. The landscape is of big and small mountains lining in a large area. The highest peak is Khao Lamang with its height of 992 meters from the sea level. The continuous mountain ranges have naturally created valleys, chasms and waterfalls, which are the sources of rivers, such as Moon River and Bang Pakong River. Climate Thap Lan has three main seasons, with a mean annual temperature of 28๐C. Rainy Season: May-October. During the rainy season it rains most days, though is wettest in October. In the rainy season around 269 mm of rain falls at Thap Lan, resulting in spectacular waterfalls (although there may be lots of leeches; be prepared!). Cold Season: November-February. At Thap Lan between November-February, one can expect cool and dry weather, great for hiking the many trails of the Park! This is also the most comfortable time of the year for camping, though nights can be cold. The coolest month is December, with an average daily maximum of 24๐C. Hot Season: March-April. During the hot season, temperatures at Thap Lan can reach 31๐C, which is still a welcome relief from the rest of the country at this time. During this season it is dry, and waterfalls can be reduced to a mere trickle. Flora and Fauna Plants: Fan Palm Forest: Found in Thap Lan National Park, near Ban Thap Lan, Ban Khun Sri Bupram and Ban Wang Mued, are the rare Fan Palm, or Talipot Palm Forests. In the past, these forests covered much of the northeast region of Thailand, though the spread of agriculture saw the destruction of a large number of Palm Forests. Today, Thap Lan is home to one of the few such forests remaining in Thailand. Fan Palms are an ancient plant that produce a single massive inflorescence, the largest in the plant kingdom, containing up to 60 million flowers. After this huge exertion of energy, the tree dies. Dry Evergreen Forest: Most of Thap Lan is covered in evergreen forest, particularly on the lower mountain slopes of the Park ranges. There are a number of important plant species found within this forest type, including Dipterocarps and Hopia. Bamboo is also often found in drier forests. Wildlife: Because Thap Lan National Park covers such a large area, and is connected to the areas of Khao Yai, Pangsida, and Ta Praya, it is home to a number of wild animals, including tigers, elephants, buffalos, bangtang, serow, black bears, sun bears, crown gibbons, hornbills, pheasants and lorikeets, amongst others. A total of 149 bird species have been confirmed within the Park, including several rare species restricted to low-land evergreen forest, such as the green imperial pigeon, stork-billed kingfisher and scaly-crowned babbler. There is faint hope that one of the most endangered mammals in the world, the Kouprey, may still survive in Thailand’s National Parks of Thap Lan and Pangsida. Though one has not been sighted within Thailand for more than 30 years, this primitive cattle species could provide genes valuable in the production of disease-free strains of domestic cattle. Poaching and illegal cultivation of many animals and plants in the past and present have depleted species numbers in many of Thailand’s National Parks and other natural areas, including Thap Lan. What remains is invaluable, and we must not allow anybody to take further advantage or damage these populations again At Thap Lan there are a range of features worth visiting. In addition to the Fan Palm Forests, Thap Lan boasts many spectacular waterfalls, a dam and a beach which are all popular places for swimming. Many trails are dotted throughout the Park, with many day treks starting from Park Headquarters. In addition to these treks, guides from local villages lead educational tours along a nature trail in both replanted and remaining patches of original forest.. Along this trail it is possible to see the tracks of the Asian elephant, sambar deer, common barking deer, common wild pig and gaur. A nature trail handbook has been produced to help visitor’s identify the tracks they see (Ask at Park Headquarters to purchase a copy). Other trails within the Park, many of which start from Highway 304, lead to some of the many waterfalls, including Huai Yai Waterfall which is 50 m high and 30 m wide. The cliff of this waterfall appears to curve 150?. July to September is the best time to see Huai Yai Waterfall, and many others in the Park. Huai Yai Waterfall is a 6 km walk from Highway 304. Khao Makha is a popular spot for camping with its wonderful natural scenery, and a nature trail leading from the top of the mountain. There are also many dams situated away from Park Headquarters in other areas of the Park, which are suitable for private recreation and boating. Please Select Attraction : + The Beautiful of Nature Fan Palm Forest Huai Yai Waterfall Huai Khum Phu Waterfall Bor Thong Waterfall Suan Hom - Huai Kha Min - Huai Tai Yai Waterfall Makha Mountain Lam Moon Bon Dam Lam Prang Lam Plai Mart Dam Heo Nok Kok Waterfall The Beautiful of Nature Fan Palm Forest is the largest and last fan palm of Thailand. There are fan palm trees, which are an ancient plant that has flower clusters at the top when it is 20 years old. A fan palm tree produces more than 60 million flowers, after that it dies out. Activities - flowers admiring - Nature trail study Huai Yai Waterfall Huai Yai Waterfall: is a beautiful and big waterfall. It is 50m high and 30m wide. The cliff at the waterfall looks like a 150-degree curve. The waterfall is at the Km.79 from the highway 304, and about 6km from the intersection at Km.79. Activities - Waterfall Traveling Huai Khum Phu Waterfall Turning off from national road number 304 about 20km to Thung Po Sub-district, Nadi District, Prachin Buri Province, visitor can see a cascade, called Huai Khun Phu Waterfall, watering a small dam below, and suitable for recreation. Activities - Waterfall Traveling Bor Thong Waterfall Locating in Buparam Sub-district, Nadi District, Prachin Buri Province, away from national road number 304 about 6 kilometers on road and 500 meters on foot, Bor Thong Waterfall is a very beautiful waterfall especially in the rains (form July to September), and has not much water in summer. Activities - Nature trail study - Waterfall Traveling Suan Hom - Huai Kha Min - Huai Tai Yai Waterfall Locating in Wang Nam Kheaw Sub-district, Wang Nam Kheaw District, Nakhon Ratchasima Province, about 6 kilometers away from national road number 304, the waterfall has a cliff 50 meters high and 30 meters wide and is very beautiful especially in the rains(form July to September), and has not much water in summer. Activities - Camping - View - Waterfall Traveling Top Makha Mountain Khao Makha a locates in Udomsub Sub-district, Wang Nam Khao District, Nakhon Ratchasima Province, about 5 kilometers away from national road number 304. There is an up-mountain road which traveler can enjoy seeing scenery. The area is suitable for student to come to take visual education, has camping area and natural trail for exploring the wonderful mountain. Activities - Camping - View - Nature trail study Top Lam Moon Bon Dam About 20 meters beside national road number 304, Khon Buri District, Nakhon Ratchasima Province, Lam Moon Bon Dam is a soil dam, about 30 meters high, suitable for recreation. Activities - View - Rafting-Canoeing-Kayaking Lam Prang Lam Prang is 35 kilometers from Khon Buri District. The area is suitable for conservation traveling, such as, and for student to come camping, birding and studying other wild animal. The area has lodging house and camping area, and also has a route to get to Pang Sida National Park. Activities - Camping - Bird Watching - Nature trail study Top Lam Plai Mart Dam Locating 17 kilometers from Serng Sang District, there is a beautiful area called Hard Chom Tawan of Lam Plai Mart Dam which is an attraction of Amazing Thailand’s year in cooperation between Thub Lan National Park and Serng Sang District in holding. There are boat for traveling, beaches for playing water, camping area and lodging house for family and grouped travelers. Activities - Camping - View - Rafting-Canoeing-Kayaking Contact Address Thap Lan National Park P.O. Box 37 Amphur Kabin Buri Prachinburi Thailand 25110 Tel. 0 3721 9408 E-mail reserve@dnp.go.th How to go? By Car Thab Lan National Park Headquarters is on the highway 304, about 197 Km. away from Bangkok. From the intersection Kabin Buri Mai on Kabin Buri - Nakorn Rachasima for 32Km, you will reach the Park Headquarters. By Bus From the Mo Chit bus station in Bangkok, catch a bus to Kabin Buri. From here, catch a second bus heading to Nakhon Ratchasima, but get off at Thap Lan National Park, about 32 km from Kabin Buri. The Park is on the right-hand side of the road, and Headquarters are on the main road where the bus will let you off.
Latitude : 14.218061502796965, Longitude : 101.9014988725339
View Larger Map
View On Google Map
Edit Data
Images
-
อุทยานแห่งชาติทับลาน Thap Lan National Park
-
อุทยานแห่งชาติทับลาน Thap Lan National Park
-
อุทยานแห่งชาติทับลาน Thap Lan National Park
-
อุทยานแห่งชาติทับลาน Thap Lan National Park
-
อุทยานแห่งชาติทับลาน Thap Lan National Park
-
อุทยานแห่งชาติทับลาน Thap Lan National Park