Attraction ศาลหลักเมือง/The City Pillar Shrine : กรุงเทพมหานคร
ศาลหลักเมือง ใจกลางกรุงเทพฯ ที่มีสีเขียว และความร่มรื่นของต้นไม้แห่งนี้ มีเสียงแห่งประวัติศาสตร์ก้องอยู่ ณ ที่นี้... เสียงสะท้อนแห่งที่มาของกรุงรัตนโกสินทร์เมื่อครั้งสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ ได้ถูกจารึกเป็นเครื่องหมายไว้ที่นี่ ด้วย "หลักเมือง" พร้องเสียงร่ำร้องจากอดีตถึงพิธีกรรมในการตั้งหลักเมือง นับเนื่องจากอดีต พิธีการตั้งเสาหลักเมืองไม่ใช่แบบแผนของชาวพุทธ แต่เป็นธรรมเนียมของพราหมณ์ที่มีมาแต่สมัยอินเดีย เรื่องของพิธีกรรมและไสยศาสตร์ จึงเข้ามาเกี่ยวข้อง และเกิดเสียงเล่าขาน เป็นเรื่องราวพิสดารจากผู้เฒ่าในกาลก่อนว่า… ครั้งโบราณถือว่าพิธีสร้างพระนคร หรือสร้างบ้าน สร้างเมือง จะศักดิ์สิทธิ์ต้องทำพิธีฝังอาถรรพ์ ๔ ประตูเมือง และต้องฝังเสาหลักเมืองแม้เสามหาปราสาทก็เช่นกัน การฝังอาถรรพ์ กระทำด้วยการป่าวร้องรียกผู้คนที่มีชื่อ อิน, จัน, มั่น และคง ไปทั่วเมือง เมื่อชาวเมืองเคราะห์ร้ายขานรับ ก็จะถูกนำตัวมาสถานที่ทำพิธี และถูกจับฝังลงหลุมเป็นๆ ทั้ง ๔ คน เพื่อให้ดวงวิญญาณของคนเหล่านั้นอยู่เฝ้าหลักเมือง เฝ้าปราสาท และประตูเมือง คอยคุ้มครองบ้านเมือง.. ป้องกันอริราชศัตรูและปัดเป่าโรคภัยมิให้เกิดแก่คนในนคร เรื่องราวเช่นนี้ มีเล่าสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แม้ในการตั้งเสาหลักเมืองแห่งกรุงเทพมหานคร ก็ยังมีการกล่าวถึงว่าเมื่อครั้งพระบามทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ทรงสถาปนากรุงเทพมหานครขึ้นเป็นราชธานี พระองค์ทรงโปรดเกล้าให้ตั้งพิธียกเสาหลักเมือง เพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจ สร้างความร่มเย็นเป็นสุขให้แก่ราษฎรและเพื่อเป็นนิมิหมายแสดงที่ตั้งแห่งพระนคร เมื่อวันที่ ๒๑ เดือนเมษายน ปีพุทธศักราช ๒๓๒๕ ซึ่งเสาหลักเมืองที่ใช้เป็นเสาไม้ชัยพฤกษ์ ที่ประกับด้านนอกด้วยไม้แก่นจันทน์ที่มี เส้นผ่าศูนย์กลาง ๗๕ เซนติเมตร สูง ๒๗ เซนติเมตร ที่มีความสูง ๑๘๗ นิ้ว และบรรจุดวงเมืองไว้ที่ยอดเสารูปบัวตูมบรรจุดว งชะตาของกรุงเทพฯ แล้วได้มีการสร้างเสาหลักเมืองใหม่ในสมัยรัชกาลที่ ๔ แทนของเดิมที่ชำรุดเป็นไม้ชัยพฤกษ์สูง ๑๐๘ นิ้ว ฐานเป็นแท่นกว้าง ๗๐ นิ้วมีอาคารยอดปรางค์อย่างที่เห็นในปัจจุบัน ในครั้งนั้นเล่ากันเป็นเรื่องพิสดารว่าก่อนตั้งเสาหลักเมือง พราหมณ์ได้ถือเอาฤกษ์ตามวันเวลา ภายในศาลหลักเมืองยังมีเทวรูปเจ้าพ่อสำคัญอีก ๕ องค์ คือ เทพารักษ์ เจ้า พ่อหอกลอง พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง เจ้าพ่อเจตคุปต์ และพระกาฬไชยศรี ซึ่งหญิงมีครรภ์จะเดินเข้ามาใกล้ปากหลุม ครั้งถึงวันเวลานั้น หญิงมีครรภ์คนหนึ่งเดินมาใกล้ปากหลุมจึงถูกผลักลงหลุมไป และทำพิธีตั้งเสาหลักเมืองฝังร่างหญิงคนนั้นไว้กับเสา เรื่องราวน่าเวทนาที่ใช้ชีวิตคนเป็นๆ ฝังไว้กับเสานี้ ไม่มีข้อมูลใดๆ มายืนยัน คงเป็นแต่เพียงเรื่องที่เล่าต่อๆ กันมาแม้ในพงศาวดารก็ไม่มีบันทึก ด้วยการตั้งเสาหลักเมืองถือเป็นพิธีมหามงคล ซึ่งพระมหากษัตริย์กระทำเพื่อให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขแก่ราษฎร การนำชีวิตผู้คนมาฝังทั้งเป็น ซึ่งไม่ใช่เรื่องมงคลจึงไม่น่าเป็นเรื่องจริง แต่อาจเป็นด้วยกาลเวลาหรือผู้เล่าเห็นแปลกในการประกอบพิธีกรรมอย่างพราหมณ์จึงแต่งเติมเรื่องราว ให้ดูแปลกไปเหมือนอย่างนิยายปรัมปรา ในกาลต่อมา เมื่อเสาหลักเมืองและตัวศาลเริ่มชำรุดด้วยกาลเวลาที่ล่วงไป จนลุเข้าสู่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ พระองค์ผู้ทรงปรีชาชาญในด้านโหราศาสตร์ ได้ตรวจดวงชะตาบ้านเมือง และพบว่าดวงชะตาของพระองค์เป็นอริแก่ลัคนาดวงเมือง จึงโปรดเกล้าให้ขุดเสาหลักเมืองเดิม และจัดทำเสาหลักเมืองขึ้นใหม่ ด้วยแกนไม้สักประกับนอกด้วยไม้ชัยพฤกษ์ ๖ แผ่น บรรจุดวงเมืองในยอดเสาทรงมัณฑ์ที่มีความสูงกว่า ๕ เมตร และอัญเชิญหลักเมืองเดิม และหลักเมืองใหม่ประดิษฐานในศาลใหม่ที่มียอดปรางค์ ก่ออิฐฉาบปูนขาว เมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๙๕ จากนั้นมา ศาลหลักเมืองก็ได้รับการปฏิสังขรณ์อีกหลายครั้ง จวบจนปัจจุบัน ศาลหลักเมืองได้รับการบูรณะอย่างสวยงามภายในตัวมณฑปด้านทิศเหนือได้ถูกจัดสร้างเป็นซุ้มสำหรับประดิษฐานเทพารักษ์ทั้ง ๕ คือ เจ้าพ่อหอกลอง, เจ้าพ่อเจตคุปต์, พระเสื้อเมือง, พระทรงเมือง, และพระกาฬไชยศรี โดยมีเสาหลักเมืองในรัชกาลที่ ๔ ตั้งอยู่ด้านหน้า และเสาหลักเมืองในรัชกาลที่ ๑ ตั้งอยู่ทางช่องประตูมุขขวา ในวันนี้ เสียงลือเสียงเล่าถึงเรื่องราวของผู้สังเวยชีวิตที่ก้นหลุมเสาหลักเมือง ได้ลางเลือนไปตามวันเวลา เป็นเรื่องเล่าปรัมปราที่ยังไร้เหตุแห่งความจริง คงเหลือไว้เพียงภาพปัจจุบัน ของความเชื่อถือศรัทธาในความศักดิ์สิทธิ์แห่งเสาหลักเมือง ซึ่งอยู่ภายในศาล ที่ผู้คนยังคงแห่แหนจากทั่วสารทิศ นับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อพึ่งพาอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ให้คอยปกปักรักษา ปกป้องคุ้มภัย
ศาลหลักเมือง/The City Pillar Shrine
ใจกลางกรุงเทพฯ ที่มีสีเขียว และความร่มรื่นของต้นไม้แห่งนี้ มีเสียงแห่งประวัติศาสตร์ก้องอยู่ ณ ที่นี้... เสียงสะท้อนแห่งที่มาของกรุงรัตนโกสินทร์เมื่อครั้งสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ ได้ถูกจารึกเป็นเครื่องหมายไว้ที่นี่ ด้วย "หลักเมือง" พร้องเสียงร่ำร้องจากอดีตถึงพิธีกรรมในการตั้งหลักเมือง นับเนื่องจากอดีต พิธีการตั้งเสาหลักเมืองไม่ใช่แบบแผนของชาวพุทธ แต่เป็นธรรมเนียมของพราหมณ์ที่มีมาแต่สมัยอินเดีย เรื่องของพิธีกรรมและไสยศาสตร์ จึงเข้ามาเกี่ยวข้อง และเกิดเสียงเล่าขาน เป็นเรื่องราวพิสดารจากผู้เฒ่าในกาลก่อนว่า… ครั้งโบราณถือว่าพิธีสร้างพระนคร หรือสร้างบ้าน สร้างเมือง จะศักดิ์สิทธิ์ต้องทำพิธีฝังอาถรรพ์ ๔ ประตูเมือง และต้องฝังเสาหลักเมืองแม้เสามหาปราสาทก็เช่นกัน การฝังอาถรรพ์ กระทำด้วยการป่าวร้องรียกผู้คนที่มีชื่อ อิน, จัน, มั่น และคง ไปทั่วเมือง เมื่อชาวเมืองเคราะห์ร้ายขานรับ ก็จะถูกนำตัวมาสถานที่ทำพิธี และถูกจับฝังลงหลุมเป็นๆ ทั้ง ๔ คน เพื่อให้ดวงวิญญาณของคนเหล่านั้นอยู่เฝ้าหลักเมือง เฝ้าปราสาท และประตูเมือง คอยคุ้มครองบ้านเมือง.. ป้องกันอริราชศัตรูและปัดเป่าโรคภัยมิให้เกิดแก่คนในนคร เรื่องราวเช่นนี้ มีเล่าสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แม้ในการตั้งเสาหลักเมืองแห่งกรุงเทพมหานคร ก็ยังมีการกล่าวถึงว่าเมื่อครั้งพระบามทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ทรงสถาปนากรุงเทพมหานครขึ้นเป็นราชธานี พระองค์ทรงโปรดเกล้าให้ตั้งพิธียกเสาหลักเมือง เพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจ สร้างความร่มเย็นเป็นสุขให้แก่ราษฎรและเพื่อเป็นนิมิหมายแสดงที่ตั้งแห่งพระนคร เมื่อวันที่ ๒๑ เดือนเมษายน ปีพุทธศักราช ๒๓๒๕ ซึ่งเสาหลักเมืองที่ใช้เป็นเสาไม้ชัยพฤกษ์ ที่ประกับด้านนอกด้วยไม้แก่นจันทน์ที่มี เส้นผ่าศูนย์กลาง ๗๕ เซนติเมตร สูง ๒๗ เซนติเมตร ที่มีความสูง ๑๘๗ นิ้ว และบรรจุดวงเมืองไว้ที่ยอดเสารูปบัวตูมบรรจุดว งชะตาของกรุงเทพฯ
แล้วได้มีการสร้างเสาหลักเมืองใหม่ในสมัยรัชกาลที่ ๔ แทนของเดิมที่ชำรุดเป็นไม้ชัยพฤกษ์สูง ๑๐๘ นิ้ว ฐานเป็นแท่นกว้าง ๗๐ นิ้วมีอาคารยอดปรางค์อย่างที่เห็นในปัจจุบัน ในครั้งนั้นเล่ากันเป็นเรื่องพิสดารว่าก่อนตั้งเสาหลักเมือง พราหมณ์ได้ถือเอาฤกษ์ตามวันเวลา ภายในศาลหลักเมืองยังมีเทวรูปเจ้าพ่อสำคัญอีก ๕ องค์ คือ เทพารักษ์ เจ้า พ่อหอกลอง พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง เจ้าพ่อเจตคุปต์ และพระกาฬไชยศรี
ซึ่งหญิงมีครรภ์จะเดินเข้ามาใกล้ปากหลุม ครั้งถึงวันเวลานั้น หญิงมีครรภ์คนหนึ่งเดินมาใกล้ปากหลุมจึงถูกผลักลงหลุมไป และทำพิธีตั้งเสาหลักเมืองฝังร่างหญิงคนนั้นไว้กับเสา เรื่องราวน่าเวทนาที่ใช้ชีวิตคนเป็นๆ ฝังไว้กับเสานี้ ไม่มีข้อมูลใดๆ มายืนยัน คงเป็นแต่เพียงเรื่องที่เล่าต่อๆ กันมาแม้ในพงศาวดารก็ไม่มีบันทึก ด้วยการตั้งเสาหลักเมืองถือเป็นพิธีมหามงคล ซึ่งพระมหากษัตริย์กระทำเพื่อให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขแก่ราษฎร การนำชีวิตผู้คนมาฝังทั้งเป็น ซึ่งไม่ใช่เรื่องมงคลจึงไม่น่าเป็นเรื่องจริง แต่อาจเป็นด้วยกาลเวลาหรือผู้เล่าเห็นแปลกในการประกอบพิธีกรรมอย่างพราหมณ์จึงแต่งเติมเรื่องราว ให้ดูแปลกไปเหมือนอย่างนิยายปรัมปรา
ในกาลต่อมา เมื่อเสาหลักเมืองและตัวศาลเริ่มชำรุดด้วยกาลเวลาที่ล่วงไป จนลุเข้าสู่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ พระองค์ผู้ทรงปรีชาชาญในด้านโหราศาสตร์ ได้ตรวจดวงชะตาบ้านเมือง และพบว่าดวงชะตาของพระองค์เป็นอริแก่ลัคนาดวงเมือง จึงโปรดเกล้าให้ขุดเสาหลักเมืองเดิม และจัดทำเสาหลักเมืองขึ้นใหม่ ด้วยแกนไม้สักประกับนอกด้วยไม้ชัยพฤกษ์ ๖ แผ่น บรรจุดวงเมืองในยอดเสาทรงมัณฑ์ที่มีความสูงกว่า ๕ เมตร และอัญเชิญหลักเมืองเดิม และหลักเมืองใหม่ประดิษฐานในศาลใหม่ที่มียอดปรางค์ ก่ออิฐฉาบปูนขาว เมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๙๕ จากนั้นมา ศาลหลักเมืองก็ได้รับการปฏิสังขรณ์อีกหลายครั้ง จวบจนปัจจุบัน ศาลหลักเมืองได้รับการบูรณะอย่างสวยงามภายในตัวมณฑปด้านทิศเหนือได้ถูกจัดสร้างเป็นซุ้มสำหรับประดิษฐานเทพารักษ์ทั้ง ๕ คือ เจ้าพ่อหอกลอง, เจ้าพ่อเจตคุปต์, พระเสื้อเมือง, พระทรงเมือง, และพระกาฬไชยศรี โดยมีเสาหลักเมืองในรัชกาลที่ ๔ ตั้งอยู่ด้านหน้า และเสาหลักเมืองในรัชกาลที่ ๑ ตั้งอยู่ทางช่องประตูมุขขวา ในวันนี้ เสียงลือเสียงเล่าถึงเรื่องราวของผู้สังเวยชีวิตที่ก้นหลุมเสาหลักเมือง ได้ลางเลือนไปตามวันเวลา เป็นเรื่องเล่าปรัมปราที่ยังไร้เหตุแห่งความจริง
คงเหลือไว้เพียงภาพปัจจุบัน ของความเชื่อถือศรัทธาในความศักดิ์สิทธิ์แห่งเสาหลักเมือง ซึ่งอยู่ภายในศาล ที่ผู้คนยังคงแห่แหนจากทั่วสารทิศ นับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อพึ่งพาอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ให้คอยปกปักรักษา ปกป้องคุ้มภัย
The City Pillar Shrine (San Lak Muang) ศาลหลักเมือง The graceful, temple-like structure houses a wooden pillar placed there by King Rama I in 1782 as the foundation stone for the new capital of Bangkok. The shrine is across the street from Wat Phra Kaeo.
Latitude : 13.752586584144687, Longitude : 100.49403684444535
View Larger Map
View On Google Map
Edit Data
Images
-
ศาลหลักเมือง/The City Pillar Shrine
-
ศาลหลักเมือง/The City Pillar Shrine
-
ศาลหลักเมือง/The City Pillar Shrine
-
ศาลหลักเมือง/The City Pillar Shrine
-
ศาลหลักเมือง/The City Pillar Shrine
-
ศาลหลักเมือง/The City Pillar Shrine