Attraction สันกำแพง San Kamphaeng City : เชียงใหม่
อำเภอสันกำแพง
สันกำแพง San Kamphaeng City
อำเภอสันกำแพง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ เป็นอำเภอที่มีแหล่งท่องเที่ยวมากมาย ที่ขึ้นชื่อได้แก่ บ้านบ่อสร้าง เป็นแหล่งรวมหัตถกรรมการทำร่มกระดาษสา
น้ำพุร้อนสันกำแพง ตลอดเส้นทางจากตัวอำเภอเมืองไปยังอำเภอสันกำแพงจะรายล้อมไปด้วยต้นไม้ใหญ่ 2 ข้างทาง
ประวัติความเป็นมา จากหลักฐานศิลาจารึกที่ต้นพบ ณ วัดเชียงแสนตำบลออนใต้สันนิฐานกันว่าชาวอำเภอสันกำแพงอพยพมาจาก พันนาภูเลาแขวงเมืองเชียงแสน (ปัจจุบันอยู่ในจังหวัดเชียงราย) มาตั้งอยู่ริมน้ำแม่ออน โดยในสมัยพระเจ้าศิริลัทธัมมังกร มหาจักพรรดิราชธิราช ได้เสวยราชเป็นกษัตริย์ครองนครเชียงใหม่ ได้โปรดให้ราชมนตรี นายหนึ่งชื่อ เจ้าอภิชวฌาณบวรสิทธิ เป็นหมื่นดาบเรือนได้มีจิตศรัทธาชักชวนบรรดาทายกทายิกาทั้งหลาย มาประชุมกัน เพื่อสร้างวิหารพระเจดีย์และหอพระไตรปิฎกเมื่อสร้างเสร็จแล้วขนาน นามวัดที่สร้างขึ้นว่า "สาลกิจญาณหันตาราม" วัดนี้ต่อมาชาวบ้านเรียกว่า " วัดเชียงแสน" นอกจากนั้น ชาวบ้านในหลายท้องถิ่นของอำเภอเป็นไทยยองและไทยลื้อ สำเนียงพูดของชาวบ้านในอำเภอเชียงแสน ต่อมาได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอเรียกว่า "แขวงแม่ออน " อยู่ในการปกครองของนครเชียงใหม่ ถึง พ.ศ. 2445 ในรัชสมัยของพระเจ้าอินทวโรรสครองนครเชียงใหม่เกิดกบฏเงี้ยวขึ้นที่อำเภอเมืองแพร่ ที่แขวงแม่ออนมีชาวเงี้ยว 11 คน มีอาวุธครบได้ทำการบุกปล้นโรงกลั่นสุราที่บ้านป่าไผ่ ตำบลแช่ช้าง แล้วทำการเผาที่ทำการแม่ออนเสียหายทั้งหลัง แล้วได้หนีไปทางอำเภอดอยสะเก็ด ต่อมาในปี พ.ศ. 2446 ทางราชการได้ย้ายที่ทำการแขวงแม่ออนมาปลูกสร้างที่บ้านสันกำแพง จึงได้ชื่อว่า "อำเภอสันกำแพง" มาจนถึงทุกวันนี้ ในปี พศ. 2537 กระทรวงมหาดไทยได้แบ่งพื้นที่บางส่วนของอำเภอสันกำแพงยกฐานะเป็น " กิ่งอำเภอแม่ออน"
ภูมิประเทศ ลักษณะภูมิประเทศ สภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มกว้าง มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 196.69 ตารางกิโลเมตร มีลำน้ำที่สำคัญ ลำน้ำแม่ออน ลำน้ำแม่ปูคา ลำน้ำแม่กวง เป็นแหล่งน้ำสำคัญ
ประชากร จำนวนประชากรทั้งหมด 73,269 คน แยกได้เป็นชาย 35,394 คน หญิง 37,875 คน
การคมนาคม เส้นทางคมนาคม อำเภอสันกำแพงติดต่อกับจังหวัดเชียงใหม่โดยทางรถยนต์ถนนสายเชียงใหม่ - สันกำแพง ระยะทาง 13 กม.
ผลผลิตทางการเกษตร ได้แก่ ข้าว ยาสูบ ถั่วลิสง ลำไย ไม้ดอก กระเทียม
การประมง ได้แก่ การเลี้ยงปลานิล ปลาไน ปลาตะเพียน ปลายี่สก
ประเพณี
- ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีสงกรานต์ในอำเภอสันกำแพง วันที่ 13 เมษายน ถือว่าเป็นวันสงกรานต์ชาวล้านนาเรียกว่า เป็นวันสังขารล่อง วันที่ 14 เมษายน เรียกว่า วันเนาว์ ชาวล้านนาเรียกเพี้ยนเป็น "วันเนา" วันที่ 15 เมษายน เป็นวันเถลิงศก เรียกว่า "วันพญาวัน" ซึ่งถือว่าเป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชเป็นปีใหม่และเปลี่ยนพุทธศักราชด้วย ในช่วงเวลาดังกล่าวมีการทำบุญ สรงน้ำพระ และการรดน้ำดำหัว เช่นเดียวกัน
- ประเพณีการกิ๋นก๋วยสลากหรือทานข้าวสลาก เป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมานานแล้ว การทานสลากจะเริ่มในราววันเพ็ญเดือนสิบสอง และสิ้นสุดเอาในเดือนเกี๋ยงดับ ก่อนวันทำพิธีทานสลากภัตต์ 1 วัน เรียกว่า "วันดา" คือเป็นวันจัดเตรียมสิ่งของเครื่องไทยทาน พวกผู้ชายจะจักตอกสานก๋วย (ตระกร้า) ไว้หลาย ๆ ใบ แล้วแต่ศรัทธาและทรัพย์จะอำนวยให้ทางฝ่ายผู้หญิงก็จะจัดเตรียมห่อของกระจุกกระจิก เช่น ข้าวสาร กระเทียม เกลือ กะปิ ขนม อาหาร (ห่อนึ่ง) ชิ้นปิ้ง (เนื้อย่าง) เนื้อเค็ม หมาก ไม้ขีดไฟ เทียนไข สีย้อมผ้า ผลไม้ เครื่องใช้สอยต่าย ๆ ตามแต่ศรัทธาและฐานะ เหล่านี้บรรจุลงในก๋วย ซึ่งกรุด้วยใบตองหรือกระดาษสีต่าง ๆ เมื่อบรรจุเรียบร้อย "ยอด" คือธนบัตรผูกติดไม้เรียวยอดนี้ไม่จำกัดจำนวน วันรุ่งขึ้นเป็นวันทานสลาก ก็จะให้เด็กนำ "ก๋วยสลาก" ไปวางเรียงไว้เป็นแถว ๆ เวลามีการ "เส้นสลาก" (ส้นสลากทำด้วยใบลานหรือกระดาษตัดแผ่นยาว ๆ จารึกชื่อเจ้าของไว้และ บอกว่าอุทิศส่วนกุศลให้ใครบ้าง เส้นสลากนี้จะต้องเขียนให้ครบจำนวนก๋วยสลาก เมื่อชาวบ้านจะนำเอาก๋วยสลากไปที่วัด นำเอาเส้นสลากไปรวมกันที่หน้าพระประธานในวิหาร ผู้รวบรวมเส้นสลากมักจะเป็นมรรคนายกรวบรวมได้เท่าไรเอาจำนวนพระภิกษุสามาเณรที่นิมนตร์จากหัววัดต่าง ๆ หารจำนวนเส้นสลากเหลือไว้ส่วนเป็นของพระเจ้ามาแบ่งให้แก่พระภิกษุสามเณร และเด็ก "เส้นสลาก" ที่แบ่งปันให้แก่พระภิกษุ สามเณรที่นิมนต์มาจากวัดต่าง ๆ นั้น เส้นสลากแล้วก็จะแยกย้ายไปยึดสถานที่ใดสถานที่หนึ่งในบริเวณวัดและจัดการออกสลาก การอ่านเส้นสลากดัง ๆ เมื่อมีผู้ได้ยินหรือเพื่อนบ้านใกล้ ๆ ได้ยินก็จะไปบอกเจ้าของก๋วยสลาก เมื่อพบเส้นสลากก็จะถวาย "ก๋วยสลาก" พระก็จะกล่าวอนุโมทนาให้พร และคืนเส้นสลากให้เจ้าของไป
- ลอยกระทง , - ตามประทีป เป็นประเพณีดั้งเดิมที่สืบเนื่องกันมาแต่โบราณกาล โดยก่อนที่จะถึงวันเพ็ญเดือนสิบสองใต้ (เดือนยี่เป็งเป็นของภาคเหนือ) พวกชาวบ้านจะจัดการปัดกวาดแผ้วถางบ้านเรือนให้สะอาดเรียบร้อยประดับด้วยธงทิวจัดเปลี่ยนดอกไม้บนหิ้งบูชาพระจัดเทียนประทีปและเทียนไว้สำหรับจุดบูชาพระ ประตูบ้านก็จะนำต้นกล้วยต้นอ้อยทางมะพร้าวหรือไม้อื่นมาประดิษฐ์ทำเป็นซุ้ม ประตูให้สวยงาม แล้วแต่จะคิดทำเป็นที่สะดุดตาคน เมื่อประดับประดาด้วยดอกไม้เรียบร้อยแล้วก็จะหาโคมญี่ปุ่นหรือประทีปมาเตรียมไว้ เพื่อจะใช้จุดไฟให้สว่างในวันยี่เป็งตามวัดวาอารามหรือสถานที่สำคัญต่าง ๆ จะจัดตกแต่งสถานที่ให้สวยงามเป็นพิเศษ ที่ซุ้มประตูของวัดจะตกแต่งด้วยดอกไม้ และโคมไฟที่สวยงาม รอบ ๆ พระเจดีย์จะจุดบูชาด้วยเทียนหรือตามประทีปไว้รอบ ๆ เพื่อเป็นการระลึกถึงพระพุทธเจ้า นอกจากนี้ทุกวัดจะมีการทำบุญตักบาตรในตอนเช้าพอสายหน่อยจะมีการฟังเทศน์ พระธรรมถึงผู้เทศน์จะต้องมีเคล็ดในการเทศน์การเทศน์ให้ประชาชนฟังอย่างได้เนื้อหาทางศีลธรรมไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งชาวบ้านนิยมให้พระท่านเทศน์ในกัณฑ์มัทรี ชูชก (หรือเมืองเหนีอเรียกว่าตุ๊จก) กัณฑ์กุมาร มหาราชแห่งนครกัณฑ์ บางวัด จะจัดให้มีการเทศน์จนครบ 13 กัณฑ์ นอกจากการทำบุญฟังเทศน์แล้วจะมีการปล่อยโคมลอย ซึ่งตามประเพณีเพื่อเป็นพุทธบูชาจุฬามณีบนสวรรค์ ในตอนกลางคืนจะมีการจุดไปตามประทีปโคมไฟตามวัด และตามบ้านทั่ว ๆ ไป การลอยกระทง จะมีการลอยกระทงถึงสองวัน คือในวันยี่เป็งนั้นชาวบ้านจะนำกระทงเล็กที่จัดทำขึ้นด้วยใบตองกาบกล้วยใบและกลีบดอกพลับพลึง ไปลอยในแม่น้ำปิง กระทงใหญ่ที่จัดทำเป็นรูปต่าง ๆ ตกแต่งอย่างสวยงามและมีการประกวดพร้อมกับขบวนแห่นั้นจะทำในวันแรม 1 ค่ำ
- งานปอยหลวง ปอยหลวง คือ การทำบุญฉลองอย่างใหญ่โต เช่น เมื่อสร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ โรงเรียนพระปริยัติธรรม กำแพง สิ่งปลูกสร้างภายในวัด เมืม่อสร้างเสร็จจะทำบุญอุทิศถวายทาน งานปอยหลวงจะจัดทำตั้งแต่เดือน 5, 6, 7, 8 เหนือ (ในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนพฤษภาคม) งานปอยหลวงนี้ จะมีการแห่เครื่องไทยทานจากหัววัดต่าง ๆ ไปร่วม เรียกว่า "แห่ครัวทาน" ขยวนแห่ครัวทานจะมีช่างฟ้อนสาวรูปร่างสวยงาม แต่งกายแบบพื้นเมือง เช่น ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน นำหน้าครัวทาน ติดตามด้วยคณะครัวทานของแต่ละวัด ส่วนมากการแห่ครัวทานจะเริ่มตั้งแต่เวลา 15.00 น. ไปจนถึง 22.00 น. ตอนกลางคือน วัดที่เป็นเจ้าภาพจะจัดให้ม ลิเก ภาพยนตร์ การละเล่นต่าง ๆ บนเวที มีการเลี้ยงน้ำเย็น เครื่องดนตรีที่ใช้ในการแห่ครัวทานตามแบบเมืองเหนือประกอบด้วย กลองยาว ฆ้อมแน (ปี่) ฉว่า (ฉาบ) กลองตะหลดป๊ด (กลองเล็กใช้ตีขัดจังหวัด เวลาจะได้ยิน ตุ๊ก ๆ ) เวลาบรรเลงจะได้ยินเสียงดังตึ่งโน..ต๊กตุ่งต๊กโนง.. จึงเรียกว่า "กลองตึ่งโนง" นอกจากนี้ มีกลองเทิ้ง บ่อง กลองเงี้ยว กลองสะบัดชัย ตามแต่ทางวัดจะหาได้ ฆ้องกลอง จะมีทุกวัด และยังมีกลองใหญ่เรียกว่า "กลองปูจา" ใช้ตีในเวลาที่พระลงทำวัตรเช้า เวลาที่มีการเทศน์ ก่อนวันปอย 1 วัน จะมีการเตรียมของเรียกว่า "วันดา" (วันสุกดิบ) ในวันนี้คณะศรัทธาจะนำของมารวมกันเรียกว่า "ฮอมครัว) และในวันแรกของงานปอยจะมีการทานธงแบบต่าง ๆ ซึ่งทางเหนือเรียกว่า "ตุง" และจ้อ" (ช่อ) ตุงยาวและจ้อจ๊าง (ช่อช้าง) นำมาผูกติดกับเสาไม้ไฝ่ปักไว้สองข้าวทาง ที่จะเข้าสู่วัดที่จัดให้มีการทำบุญปอยหลวงไว้เป็นสัญลักษณ์ด้วย ตอนเย็นวันเดียวกันมีการนิมนต์พระเถระอุปคุตมาไว้ที่หออุปคุต หอนี้มีแบบศาลเพียงตามีเสี่อผืนหมอนใบ น้ำต้น (คนโทใส่น้ำ) ขันดอกไม้ธูปเทียนและก้อนหิน ที่เอามาจากแม่น้ำ ซึ่งสมมุติว่าเป็นองค์อุปคุต การนิมนต์พระอุปคุตมาไว้ที่หอเพราะมีความเชื่อว่า ท่านสามารถคุ้มครองงานให้ปลอดภัยปราศจากเหตุร้าย
- ปอยน้อยหรือปอยบวชลูกแก้ว ลูกแก้ว ทางภาคเหนือเรียกว่า "บวชพระ" คือการอุปสมบท หากเป็นผู้มีฐานะดีและบริเวณ มีการสร้างผาม (ประจำ)ขึ้นกลางบ้านบ้างก็จะมีซอให้ผู้มา "ฮอมครัว) บางแห่งจะมีภาพยนตร์กลางแปลงให้ชมอีกด้วย
- แอ่วพระอุ้ม จะมีการทำบุญปอยน้อยนี้ เจ้าภาพจะต้องเตรียมอัฐบริขาร เช่น มุ้ง บาต พัด ผ้าสบง จีวร เตียงน้อน ผ้าห่ม ฯลฯจากนั้นก็จะพิมพ์ใบบอกบุญแผ่กุศล แจกจ่ายไปตามบ้านญาติสนิทมิตรสหายแทนการบอกบุญสมัยก่อนโดยการ "แอ่วผ้าอุ้ม"
- วันดา การจัดงานปอยบวชนี้มีสองวัน วันแรกเป็นวันดา (วันสุกดิบ) ในวันนี้เจ้าภาพจะจัดสถานที่เสร็จแล้วจะนำเครื่องอัฐบริขารของพระบวชใหม่ไปตั้งไว้โดยจะมีผู้เฒ่าผู้แก่นั่งคอยต้อนรับอยู่และเป็นผู้ให้พรแก่ผู้ที่มาฮอมครัว ซึ่งในวันนี้จะมีญาตพี่น้องเอาสิ่งของหรือเครื่องเงินซองมาร่วมทำบุญ ในวันรุ่งขึ้นเป็นวันบวชตามพิธีสงฆ์ แต่ในปัจจุบันการประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายมักจะแต่งดาในตอนเช้าและทำพิธีบวชในวันแต่งดานี้นอกจากจะเตรียมเครื่องไทยทานไว้ถวายพระที่นิมนต์มาร่วมในพิธีบวช ผู้บวชจะต้องโกนผมนุ่งขาวห่มขาว ในวันรุ่งขึ้นจะมีการแห่นาคจากบ้านไปวัดเรียกว่า "แห่ลูกแก้ว"
- การแห่ลูกแก้ว การแห่ลูกแก้วของทางภาคเหนือจะแต่งตัวเป็นกษัตริย์ทรงม้า มีการแห่ "ลูกแก้ว" จากบ้านไปวัด เมื่อไปถึงวัดก็จะมีการ "ฮ้องขวัญลูกแก้ว" คือมีการเรียกขวัญนาคนั้นเองโดยมีอาจารย์ที่มีลีลาการเรียกขวัญอย่างไพเราะเพราะพริ้งกินใจเป็นทำนองเมืองเหนือ ตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนทำพิธีเรียกขวัญแล้วพระสงฆ์จะทำพิธีบวชเป็นสามเณรหรืออุปสมบทเป็นพระภิกษูสมปรารถนา
- ปอยเข้าสังฆ์ เป็นการทำบุญให้กับผู้ที่ตายด้ยการคลอดบุตรโดยนิมนตร์พระมาสวดมนต์ฟังเทศน์ที่บ้าน สิ่งของที่ถวายพระจะมีเรือนเล็กทางภาคเหนือเรียกว่า "ห่อผ้า" ภายในเรือนเล็กจะมีเสื้อผ้า เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่จำเป็นแก่การครองชีพของมนุษย์ ส่วนมากจะเป็นสิ่งของที่ผู้ตายเคยใช้และชอบใช้เมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่ เมื่อวัดการถวายทานแล้วมีความเชื่อว่าจะสามารถนำวิญญาณของผู้ตายพ้นจากห้วยกรรม
สันกำแพง
Latitude : 18.764652566767683, Longitude : 99.0824476571907
View Larger Map
View On Google Map
Edit Data
Images
-
สันกำแพง San Kamphaeng City
-
สันกำแพง San Kamphaeng City
-
สันกำแพง San Kamphaeng City
-
สันกำแพง San Kamphaeng City
-
สันกำแพง San Kamphaeng City